วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ: Biotechnology) คือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ มนุษย์ งานด้านเทคโนโลยีชีวภาพเป็นงานที่มีความเกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตโดยตรง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวเคมีต่างๆที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) และ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology) หรือ พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) (เข้าถึงได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E)

เข้าถึงได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=2AcM1QP-Y0w&feature=related

สรุป คำว่าเทคโนโลยีชีวภาพนั้นหมายถึงเป็นการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ และ/หรือ เอนไซม์ เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาซึ่งต้องอาศัยศาสตร์ทางด้านต่างๆเช่น ชีววิทยา เคมี พันธุศาสตร์ วิศวกรรมชีวภาพ และ อื่นๆเป็นต้น

คำถาม
1 ตามความคิดของท่าน ท่านคิดว่าเทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร และ ท่านจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างไร
2 บทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ท่านมองว่าเป็นอย่า
งไร

** สามารถแลกเปลี่ยนได้ใน Comment หรือ ทาง E - mail (bio_adul@hotmail.com)ได้นะครับ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

วิชาวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นพื้นฐานความรู้ในการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ โดยสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์เคมี และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ซึ่งในศาสตร์ดังกล่าวก็สามารถแบ่งศาสตร์ย่อยๆได้หลากหลายแขนงด้วยกันและในรายละเอียดจะกล่าวในครั้งต่อไป นอกจากนี้มี สแตฟฟอร์ด และคณะ (Stafford and others) นักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ ดังนี้ คือ
1 วิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ตรงกับปรากฎการณ์ของธรรมชาติ (วัตถุและเหตุการณ์ที่แวดล้อมเราอยู่) แล้วมีการรวบรวมรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับวัตถุและเหตุการณ์นั้น ๆ

2 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำข้อมูลและการตีความหมายข้อมูลที่ได้
3 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติเป็นคู่แฝด ด้านหนึ่งนั้นเป็นการสะสมความรู้ที่ได้ผ่านการทดลองแล้ว และอีกด้านหนึ่งจะเป็นวิธีการค้นหาความรู้
4 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
5 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ที่ เกิดขึ้น หรืออธิบายกฎเกณฑ์ที่ได้จากปรากฎการณ์นั้น รวมทั้งการขยายความรู้ให้กว้างออกไปเลยจากประสบการณ์ที่ได้รับ
6 ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับเพิ่มนั้น มีลักษณะสืบต่อจากความรู้เก่าที่มีคนค้นพบไว้แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนใหม่ จะอาศัยความรู้และความคิดของนักวิทยาศาสตร์คนก่อน ๆ เป็นบันไดก้าวไปหาความรู้ใหม่ต่อไป

จากรูปต่อไปนี้ที่แสดงอยากให้นักเรียนหรือผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้นะครับ

โดยโจทย์มีอยู่ว่า

1. คุณคิดอย่างไรกับภาพต่อไปนี้ในเชิงวิทยาศาสตร์
2. คุณคิดว่ารูปภาพต่อไปนี้สามารถสื่อถึงนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร

สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่ Comment หรือ ส่งทางอีเมลย์ bio_adul@hotmail.com ได้นะครับ


รูปที่ 1 นักวิทยาศาสตร์กำลังส่องกล้องจุลทรรศน์



รูปที่ 2 นักวิทยาศาสตร์


รูปที่ 3 ห้องปฏิบัติการ

รูปที่ 4 ธรรมชาติ

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

สวัสดีครับทุกท่าน

ยินดีต้อนรับนักเรียน และ ผู้ที่สนใจ เข้ามาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการศึกษาใน Blog แห่งนี้ถือได้ว่าเป็น Blog แห่งแรกสำหรับการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ E-learning โดยมี อาจารย์อดุลย์สมาน สุขแก้ว เป็นจัดทำ ข้าพเจ้าหวังว่า Blog แห่งนี้คงเป็นประโยชน์และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด