วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ตอนที่ 1 ข้อความต่อไปถ้าถูกให้เขียนเครื่องหมาย 1 ลงในแบบทดสอบ และถ้าผิดให้เขียน 2 ลงในแบบทดสอบ

.................... 1. เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์ (Cell culture Technology) และ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology) หรือ พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)

........................2. เซลลูเลส (cellulase) เป็นเอนไซม์ที่สามารถพบได้ทั่วไปในสัตว์ พืช และจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราและแบคทีเรีย สามารถย่อยสลายเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งเป็นส่วนประกอบโครงสร้างสำคัญของเซลล์พืช

ตอนที่ 2 ให้จับคู่ในข้อความที่คิดว่าถูกต้องที่สุดลงในแบบทดสอบ

ก. Biotechnology ข. Cell culture ค. Fermentation ง . Stem cell จ .sperm '
ฉ. Generation fertilization ช Fertilizer
1. กระบวนการกำเนิดชีวิตมนุษย์หรือสัตว์นั้น สเปิร์มของผู้ชาย จะมาผสมกับไข่ของผู้หญิงกลายเป็น1เซลล์ จากนั้นหนึ่งเซลล์จะทำการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ กลายเป็นอวัยวะต่างๆ ขึ้นมา

2. ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช เช่น ฟางข้า ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่าง ๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

ตอนที่ 3 ให้ตอบเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ปุ๋ยหมักโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักในไร่นา ปุ๋ยหมักเทศบาลและปุ๋ยหมักอุตสาหกรรม
ข. Metabolism หมายถึง ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต มีทั้งปฎิกิริยาเพื่อการสร้างโมเลกุลของสารต่างๆ เรียกว่าanbolism และการย่อยสลายโมเลกุลของสาร เรียกว่า catabolism
ค. สเปคตรัม คือ การแสดงความสามารถในการดูดแสงของสารที่ความยาวคลื่นต่างๆกันของคลื่นแม่เหล็กไพพ้าสารที่มีสีคือสารที่ดูดแสงได้บางส่วนที่ทั้งหมดของความยาวคลื่นของแสงที่มีสีหรือแสงที่ตามองเห็นคือประมาณ 200 -700 นาโนเมตร
ง. การหมักเป็นกระบวนการแปรรูปโดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปรับสภาวะของอาหารให้เหมาะกับการเจริญของจุลินทรีย์ที่ต้องการ แต่ไม่เหมาะสมกับการเจริญและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ชนิดที่เป็นอันตรายและชนิดที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย และยังทำให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นรสหรือลักษณะที่ต้องการ ตัวอย่างการหมักผลิตภัณฑ์ต่างๆ

2. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่จัดว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย
ก. Zymomonas mobilis
ข Staphycoccus aureus
Candida albicans
Lactococcus acidophilus

ตอนที่ 4 ให้เติมข้อความในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. ............................พลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเอทานอลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. วัตถุดิบประเภทแป้ง ได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตรพวกธัญพืช เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง และพวกพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ เป็นต้น
2. วัตถุดิบประเภทน้ำตาล ได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล บีตรูต ข้าวฟ่างหวาน เป็นต้น
3. วัตถุดิบประเภทเส้นใย เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด รำข้าว เป็นต้น

2. Aeromonas liquefaciens, A. formicans, Pseudomonas spp., Flexibacter spp., Columnaris spp. จัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ประเภท ..........................

ตอนที่ 5 ข้อสอบอัตนัย
1. อธิบายเทคโนโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
2. อธิบายกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ

....................................................................................................................................

ตอนที่ 1

1. ตอบ ข เพราะ เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์ไม่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่สุดในทางเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่สุดในทางด้านไบโอเทคคือเทคโนดลยีการหมัก
2. ตอบ ก

ตอนที่ 2

1. ง
2. ช

ตอนที่ 3
1. ค สเปคตรัม คือ การแสดงความสามารถในการดูดแสงของสารที่ความยาวคลื่นต่างๆกันของคลื่นแม่เหล็กไพพ้าสารที่มีสีคือสารที่ดูดแสงได้บางส่วนที่ทั้งหมดของความยาวคลื่นของแสงที่มีสีหรือแสงที่ตามองเห็นคือประมาณ 400 -700 นาโนเมตร
2. ตอบ ค เพราะเชื้อดังกล่าวจัดเป็นเชื้อรา ที่อยู่ใน
Kingdom:Fungi
Phylum: Ascomycota
Subphylum:Saccharomycotina
Class:Saccharomycetes
Order:Saccharomycetales
Family:Saccharomycetaceae
Genus:Candida
Species: C. albicans

ตอนที่ 4

1. เอทานอล 2. แบคทีเรีย

ตอนที่ 5
1. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในทางเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่
1. การตัดต่อยีน (genetic engineering) เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) และเทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย (molecular markers)
2. การเพาะเลี้ยงเซลล์ และ/หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (cell and tissue culturing) พืช และสัตว์
3. การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์บางชนิดหรือใช้ประโยชน์จากเอนไซน์ของจุลินทรีย์

2. การออกฤทธิ์อาจจะเป็นเพียงการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อหรือฆ่าเชื้อ สำหรับการออกฤทธิ์ของยาต้านแบคทีเรีย แบ่งเป็นกลไกหลัก 4 กลไก คือ1. ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาในกลุ่ม beta-lactam เช่น penicillins และ cephalosporins เป็นต้น2. ยับยั้งการสร้างโปรตีนของแบคทีเรีย (โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหรือเป็นเอ็นซัยม์ที่มีบทบาทในการมีชีวิตของแบคทีเรีย) ได้แก่ ยาในกลุ่ม tetracyclines, chloramphenicals และ macrolides เป็นต้น3. ยับยั้งการทำงานของเอ็นซัยม์ของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาในกลุ่ม quinolones4. ยับยั้งขบวนการเมตะบอลิก ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างสารอาหารและพลังงานของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาในกลุ่ม sulfamethoxazole และ trimethoprim
ทั้งนี้การออกฤทธิ์ของยาที่จะครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียมากน้อยเพียงใดขึ้นกับสูตรโครงสร้างของยา ซึ่งจะทำให้ยามีคุณสมบัติในการเข้าสู่เซลล์ และออกฤทธิ์ภายในเซลล์ที่แตกต่างกัน