วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Acid -Base 1 title

1 ประเภทของกรด –เบส
ประเภทของกรด
กรดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กรดอินทรีย์ หมายถึงกรดที่มีหมู่คาร์บอกซิล( COOH) หรือซัลโฟนิล ( -SO3H)
เช่น กรดฟอร์มิก( HCOOH) , กรดแอซิติก(CH3COOH) , กรดเบนซีลซัลโฟนิก (C6H5SO3H)

2. กรดอนินทรีย์ หมายถึงกรดที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต แบ่งได้ 2 ประเภท
2.1 กรดไฮโดร (Hydro acid ) คือ กรดที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนกับอโลหะอื่นที่ไม่ใช่ออกซิเจน
เช่น HF , HBr , HCl , HCN , H2S , HI
2.2 กรดออกซีหรือออกโซ(Oxy acid or Oxo acid ) คือกรดที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ออกซิเจนและ อโลหะอื่น เช่น H2CO3 , H2SO4 , HNO3 , H2PO4

ประเภทของเบส
เบสอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อินทรีย์เบส คือเบสที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น NH3
2. อนินทรีย์เบส คือเบสที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่เบสที่เป็นสารประกอบไฮดรอกไซด์ เช่น KOH , NaOH

2. การเรียกชื่อ กรด-เบส(เน้นที่การเรียกชื่อกรดทั้งแบบ common name และ IUPAC )
2.1 การเรียกชื่อกรด
การเรียกชื่อกรดไฮโดร
- ให้เรียกคำว่า Hydro นำหน้าแล้วตามด้วยชื่อของอโลหะ แต่เปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายของอโลหะเป็นอิก (ic) แล้วลงท้ายด้วย acid เพื่อบอกว่าเป็นกรด
เช่น HF = Hydrofluoric acid หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก
HCl = Hydrochloric acid หรือ กรดไฮโดรคลอริก
HBr = Hydrobromic acid หรือ กรดไฮโดรโบรมิก
การเรียกชื่อกรดออกโซ
แบบสามัญ (common name)
- ถ้าอโลหะที่รวมตัวกับ H และ O เกิดกรดออกโซ 1 ชนิด ให้เรียกชื่ออะตอมกลาง (อโลหะอื่นที่ไม่ใช่ H หรือ O) แต่เปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็นอิก(ic) เช่น H2CO3 เรียกว่า Carbonic acid หรือ กรดคาร์บอนิก
- ถ้าอโลหะที่รวมตัวกับ H และ O เกิดกรดออกโซ 2 ชนิด ให้เรียกชื่ออะตอมกลางแล้วเปลี่ยนท้ายเสียงเป็นอัส ถ้าอะตอมกลางมีเลขออกซิเดชันน้อยกว่า(มี O น้อยกว่า) ถ้าอะตอมกลางมีเลขออกซิเดชันมากกว่า ให้เปลี่ยนท้ายเสียงเป็น อิก
เช่น HNO2 เรียกว่า Nitrus acid หรือ กรดไนตรัส
HNO3 เรียกว่า Nitric acid หรือ กรดไนตริก
- ถ้าอโลหะที่รวมตัวกับ H และ O เกิดกรดออกโซได้มากกว่า 2 ชนิด ให้เติมคำนำหน้าดังนี้
- สำหรับกรดที่อะตอมกลางมีเลขออกซิเดชันต่ำกว่ากรดอัสให้เติมคำว่า Hypo นำหน้า
- สำหรับกรดที่มีเลขออกซิเดชันมากกว่ากรด อิก ให้เติมคำว่า Hyper นำหน้า
เช่น HClO เรียกว่า Hypochlorus acid , HClO3 เรียกว่า Chloric acid
HClO2 เรียกว่า Chlorus acid , HClO4 เรียกว่า Hyperchloric acid
การเรียกชื่อกรดออกโซแบบ IUPAC
- ให้บอกจำนวนของออกซิเจนด้วยภาษากรีก แล้วบอกชื่อของอะตอมกลางแล้วลงท้ายเสียงเป็น(ic acid)
เช่น HNO2 เรียกว่า Dioxonitric acid HNO3 เรียกว่า Ttioxonitric acid
HClO2 เรียกว่า Dioxochloric acid
2.2 การเรียกชื่อเบส
ให้เรียกชื่อโลหะก่อนแล้วตามด้วยไฮดรอกไซด์
เช่น NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
Ba(OH)2 = แบเรียมไฮดรอกไซด์
Ca(OH)2 = แคลเซียมไฮดรอกไซด์
Al(OH)3 = อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์

3. ทฤษฎีกรด – เบส (บอกทฤษฎีกรดเบสต่างๆได้)
3.1 ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียส กรดหมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน(H+) เช่น HCl เพราะแตกตัวให้ H+
เบสหมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ (OH-)
เช่น NaOH เพราะะแตกตัวให้ OH-
3.2 ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตต-ลาวรี
กรดหมายถึง สารที่ให้โปรตอน(H+)แก่สารอื่นได้ เช่น CH3COOH เป็นกรด เพราะเมื่อละลายน้ำแล้วสามารถให้โปรตอนกับ H2O ได้
เบสหมายถึง สารที่รับโปรตอน(H+)
คู่กรด – เบส คือสารที่มีจำนวนโปรตอนต่างๆ กันอยู่ 1 โปรตอน เข้าถึงได้ที่ http://learners.in.th/file/pakdee_kun/acid-base1.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น